วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Flash drive(FAT32,NTFS) & Ready boost: ใช้งาน Flash drive และ Ready boot ให้เต็มประสิทธิภาพ.


 

Flash drive(FAT32,NTFS) & Ready boost

ใช้งาน Flash drive และ Ready boot ให้เต็มประสิทธิภาพ

Flash drive(FAT32,NTFS) & Ready boost (Tom&Jery)


คุณเคยสังเกตไหมครับว่า อุปกรณ์ Portable อย่าง Hard disk External หรือFlash drive ที่มีขนาดความจุมากกว่า 4 GB.(ในบทความนี้จะพูดถึง Flash drive เป็นหลัก) ที่คุณชื้อมา และนำมาใช้งานทันทีนั้นสามารถเก็บ File ขนาดใหญ่ที่สุดได้กี่ GB? ผมหมายถึงขนาดของ File เดี่ยวๆ แค่ 1 File จริงๆนะครับ ถ้าคุณยังไม่รู้ ผมก็จะขอเฉลยเลยว่า....ไม่เกิน 4 GB.ครับ  ถ้าไฟล์ที่มีขนาดใหญ่มากกว่านั้น ระบบก็จะแจ้งเป็น File to large (ไฟล์ขนาดใหญ่) อย่างที่คุณเห็นใน (Pic 1.)



1. Flashdrive FAT32 Pop-up WARNING: File too Large.เหตุผลก็คือ ค่า Default ที่มาจากโรงงานของ USB Flash drive นั้นเป็นระบบจัดเก็บไฟล์แบบ FAT32 (FAT ย่อมาจาก  File All location Table)และ ระบบจัดเก็บไฟล์แบบนี้ มันสามารถเก็บไฟล์สูงสุดได้แค่นั้นแหละ (ไม่เกิน 4 GB.)
ถ้าคุณต้องการใช้งาน Flash drive ในแบบเต็มประสิทธิภาพไม่มีขีดจำกัดในเรื่องของขนาด File เราก็ต้อง Format ใหม่ให้เป็นแบบ NTFS  ก่อนครับ 
และ นอกจากจะสามารถเก็บ File ทีมีขนาดใหญ่ได้มากกว่า 4 GB. แล้ว ผมมีวิธีที่จะทำให้ Flash drive ของคุณสามารถรับส่ง ถ่ายโอนข้อมูลได้ไวขึ้นกว่าเดิมด้วย และ ผลพลอยได้หลังจากนั้นก็คือ คุณจะใช้งาน Ready Boost ได้มากกว่า 4094MB


 

A. การ Format Flash drive ให้เป็นแบบ NTFS(New Technology File System)

2.Format  Disk Dialogboxการ Format Flash drive (รวมถึง Hard disk External ด้วย)ก็มีวิธีแบบเดียวกันกับการ Format Hard drive ทั่วๆไปก่อนที่คุณ จะทำการ Format ถ้ามีข้อมูลอยู่ในนั้น ก็ให้สำรองไว้ก่อน มาดูวิธีการกัน
triangle คลิกขวาตรง Flash drive ที่คุณเสียบ เลือกที่ >Format จะมี Dialog box Format ขึ้นมาให้คุณเลือก(Pic 2.)เรียงตามหมายเลขเลยนะครับ
1. Capacity: ขนาดความจุที่นำมาใช้งานได้จริงของ Flash drive ไม่ใช่ความจุ ที่ระบุมากับตัว Flash drive นะครับ มันใช้หน่วยวัดกันคนละแบบ กรณีของ Hard disk รวมถึงอุปกรณ์เก็บข้อมูลอื่นๆก็เหมือนกัน เช่น Hard disk 320GBจะมีขนาดใช้งานได้จริง= 298GB , Hard disk 1TB ใช้งานได้จริง= 931GB เป็นต้น(อ่านรายละเอียดได้ที่หน้านี้ครับHard drive Unit: หน่วยวัดของ Hard drive)
2.  File system: ให้คุณเลือกเป็น NTFS
3. Allocation unit size: (การจัดสรรขนาดของกลุ่มข้อมูล)ในที่นี้หมาย
ถึงการกำหนดขนาดของ Block ซึ่งเป็นหน่วยจัดเก็บข้อมูลที่เล็กที่สุด ของ Drive ในเชิง Logical (ผมอาจให้คำจำกัดความ หรือ อธิบายไม่ถูกนะแต่มันก็ประมาณนั้นแหละ)
ตรงนี้มีผลกับความเร็วของ flash drive ครับ กล่าวคือ ค่าDefault ในการ Format แบบ NTFS นั้นโดยมาก จะมีค่า = 4096 bytes แต่ถ้าคุณกำหนดขนาดของ Block .ให้มีขนาดใหญ่กว่า(8192 bytes-64kb.) ก็จะทำให้ Flash drive  
ของคุณรับส่ง, ถ่ายโอนข้อมูลได้ไวขึ้น แต่ก็มีข้อเสียตรงที่ คุณจะเก็บข้อมูลได้น้อยลง(
อ่านรายละเอียดที่ Note)
4. Restore device defaults : ถ้าคุณเลือกหัวข้อนี้ จากนั้นคลิก Start เพื่อ format Fiash drive ของคุณก็จะกลับมาเป็นแบบ FAT 32 และค่าของ Allocation unit size ก็จะเท่ากับ 32 kilobytes เหมือนเดิม
5. Valume label : สำหรับตั้งชื่อ Fiash drive
6. Format options: ถ้าคุณเอาเครื่องหมายถูกออกจาก Check box ของ Quick Format ก็จะเป็นการ Format อย่างละเอียด (เหมาะสำหรับ flash drive ที่ติดVirus ครับ), กำหนด Option ต่างๆเสร็จแล้ว กด Start จะมี Dialog box ขึ้นมาเตือนตามรูป
(การ Format จะลบทุกข้อมูลใน Diskนี้....) ให้คุณกด OK จากนั้นก็รอจนเสร็จก็จะมี Dialog box ขึ้นมาแจ้งว่า Format Complete. > กด OK จากนั้นก็กด Close ที่ Dialog box Format ไปได้เลยเป็นอันเสร็จสิ้น Flash drive ของคุณก็จะเป็นแบบ NTFS






B. Ready boost

Windows Ready boost เป็นคุณสมบัติที่มีมาตั้งแต่ ยุคของ Windows Vista เป็นการนำ Flash memory (Flash drive)มาทำเป็นหน่วยความจำพิเศษ(RAM)ให้กับระบบของวินโดว์ นอกจากจะช่วยลดเวลาในการ Boot ระบบได้แล้ว ยังช่วยทำให้เหลือหน่วยความจำ RAM สำหรับใช้งานกับโปรแกรมอื่นๆได้มากขึ้นด้วย
3.Ready boot (to compare NTFS & FAT32)ผมให้ดูภาพเปรียบเทียบความแตกต่าง
ของ Flash driveตัวเดียวกัน แต่ใช้ระบบจัดเก็บ File ที่แตกต่างกัน (Fat32 กับ NTFS)เมื่อนำมาใช้งาน
Ready boost ก็จะเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจน (
Pic 3.)

เปิดการใช้งาน Ready boot :

ให้คุณคลิกขวาที่ Flash drive > Properties > ที่หน้าต่าง Properties คลิกที่ Tab Ready boost จะมีตัวเลือกดังนี้ครับ(Pic 3.)
1. ขนาดของ Flash drive
2. Do not use this device :ไม่ใช้อุปกรณ์นี้ในการทำ Ready boost
3. Dedicate this device to Ready boost :ให้อุปกรณ์นี้ เป็น Ready boot ค่าตรงนี้จะขึ้นอยู่กับขนาด Free space ของ Flash drive แต่ถ้า 
Flash drive ของคุณยังเป็นแบบ FAT 32 ถึงแม้คุณจะใช้ Flat drive ที่มีขนาดใหญ่กว่า 4GB.เท่าไหร่ก็ตาม ระบบก็จะอนุญาติให้คุณใช้ Ready boot ได้แค่ 4094 MB. เท่านั้น(
ดูที่หมายเลข 6.)
4. use this device : ถ้าคุณเลือกตัวนี้ คุณจะสามารถกำหนดได้ว่าจะใช้พื้นที่ของ Flash drive กี่ MB. ในการทำ Ready boost และเหลือพื้นที่ไว้ใช้งานอีกเท่าไหร่(หมายเลข 5.) >> กำหนดค่าเสร์จแล้ว กด OK ครับ






C. เรื่องของ Allocation unit size หรือ การกำหนดขนาดของ Block กับที่มาของ Size และ Size on disk

การกำหนด Allocation unit size ที่ผมบอกว่ามันมีผลกับความเร็วของการรับส่งข้อมูลก็เพราะว่า ธรรมชาติของการเก็บ และการค้นหาข้อมูลของ Drive นั้น(อันนี้ผมหมายรวมถึง Drive เก็บข้อมูลทุกชนิดนะครับ) ผมจะยกตัวอย่างแบบนี่ครับ
4.Size & Size on diskสมมุติว่า ถ้าคุณกำหนดให้ขนาดของ Block = 4096 bytes(4 KB) และ สมมุติว่า คุณได้สร้างไฟล์ขึ้นมา 1ไฟล์ขนาด 10 KB จากนั้นก็ Save แบบนี้ก็เท่ากับ ต้องใช้พื้นที่ =3 Block แต่ Blockที่ 3 นั้นใช้ไปแค่ 2KB(อีก 2KB ที่เหลือจะเป็นพื้นที่เสียเปล่า) ต่อมาคุณก็ได้สร้างไฟล์ที่2 ขึ้นมาอีก และถ้าคุณ Save ไฟล์ที่2 นี้ Computer มันไม่ได้ Save ข้อมูลต่อจาก Block ที่มีพื้นที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งของ Fileแรกนะครับ แต่มันจะเริ่มต้น Saveที่ Blockใหม่ถัดไป แต่ถ้าคุณกำหนดพื้นที่ของBlockให้มีขนาดใหญ่ ในการ Save File ก็จะใช้จำนวน Block น้อยลงและเวลาที่คอมพิวเตอร์ค้นหาข้อมูล มันก็จะได้ไม่เสียเวลาค้นหาหลายๆ Blockตามไปด้วย แต่มันก็ต้องแลกกับการที่คุณต้องมีพื้นที่เสียเปล่ามากขึ้นนั่นเอง อ่านแล้วคุณอาจจะงง ให้คุณดูภาพ ของการคลิกขวา > Properties ที่ File หรือ Folder ประกอบครับ ในตัวอย่างของผมเป็นขนาดของFile.txt ของ Notepad (Pic 4.) Size = ขนาดของ File จริง ,Size on disk = จำนวนของ Block ที่ใช้ในการSaveFile คูณ(X)ด้วย 4096 bytes


======================================================

the Ani Matrix Funny animation gif.
waitบทความต่อจากนี้ ผมได้มาจากoverclockzonewww.overclockzone.com ขอขอบคุณสำหรับบทความดีๆ และ ก็ขออนุญาติคัดลอกบทความด้วยเนอะ (แบบว่าขี้เกียจเรียบเรียงเองหนะ เพราะเท่าที่เขียนมาถก็ยาวมากแล้ว) ต้นฉบับมีเนื้อหาที่น่าสนใจมากกว่านี้ครับ
แต่ที่ผมนำมาลงเป็นแบบย่อ และ แก้ไขเพิ่มเติมเป็นบางส่วน เพราะต้นฉบับเขียนมาตั้งแต่ปี 2006 ซึ่งก็เป็นยุคของ XP ที่เป็น Windows Version สุดท้ายที่ File ของระบบสามารถรองรับ การติดตั้งบน Drive Format แบบ FAT 32 และ เริ่มเปลี่ยนมาใช้ระบบจัดเป็บ File แบบ NTFS โดยสรุป XP เป็น Windows Version เดียวที่รองรับ และ มีความสามารถในการสนับสนุน File System ทั้งแบบ FAT และ NTFS ครับ... และ นับจาก Windows Vista(2007) จนมาถึงปัจจุบัน(Win8) File System ของ Windows (ไม่เกี่ยวกับ File ทั่วไปที่ Save นะ)ก็รองรับการติดตั้งได้กับ NTFS Format เพียงอย่างเดียว
แต่เดิมนั้น NTFS (New Technology File System) ออกแบบมาเพื่อใช้กับระบบ ปฏิบัติการ Windows NT โดยเฉพาะ 
•เป็นระบบไฟล์ที่ออกแบบเพื่อให้มีศักยภาพในการประมวลผลข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ และนำมาใช้กับระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่ต้องมีการควบคุมระบบความปลอดภัย 
•สนับสนุนการตั้งชื่อไฟล์หรือ ไดเร็คทอรี่แบบยาว ได้ถึง 255 ตัวอักษร

ข้อดี และ ข้อแตกต่างของ NTFS กับ FAT32

1. มีความสามารถในการบีบอัดข้อมูล (File Compression)ให้ได้พื้นที่เก็บข้อมูลมากขึ้น โดยไฟล์ที่เก็บข้อมูลเป็นตัวอักษรจะบีบอัดได้ประมาณ 50 % ถ้าเป็นไฟล์แบบ .exe จะประหยัดเนื้อที่ได้ประมาณ 40 %
2. สามารถกำหนดสิทธิ์ ในการเข้าถึง File ของผู้ใช้ได้ (Permission) เช่น Full control, Modify, Read & execute, Read เป็นต้น (คลิกขวาที่ File, Folder, Drive > Properties > Security Tab)
3. เข้ารหัสข้อมูลได้(encoding) : โปรแกรมเข้าระหัสที่ติดมากับ Windows OSที่หลายคนรู้จักกันดีก็คือ BitLocker นั่นไง(ตั้งแต่ Vista-8 และ ต้องเป็นรุ่นตั้งแต่ Professional - Enterprise ถ้าใช้ Version ต่ำกว่านั้นจะถูกตัดออกไป)
4. NTFS สามารถรองรับขนาดของไฟล์ และ พาร์ติชันได้ใหญ่กว่า แบบ FAT ในทางทฤษฎีสามารถรองรับขนาดของไฟล์ และ พาร์ติชันรวมกันได้ถึง 16 Exabyte (EB) แต่ในทางปฎิบัติ สามารถรองรับขนาดของไฟล์ได้ 4-64 GB ส่วนขนาดของพาร์ติชันรองรับได้ 2 TB
5. มีความสามารถจัดการกับ Cluster ที่เกิดปัญหา ซึ่งจะใช้วิธีการที่เรียกว่า Bad- Cluster Mapping คือเมื่อระบบพบว่ามี Bad Sector บน Harddisk ก็จะจัดหา Cluster ใหม่แล้วย้ายข้อมูลจาก Cluster เก่ามาใส่ให้โดยอัตโนมัติ จากนั้นจึงกำหนด Cluster เก่าเป็น Bad Sector
 ในระบบ FAT: ในที่นี้หมายถึงระบบ FATทั้งหมดที่เคยมีมาจากอดีตด้วยนะ ( FAT 32,16,12, 8 อยากรู้ประวัติความเป็นมาอ่านได้ที่ Wikipedia Link1. Link2.)
- 
จะไม่สนับสนุนการบีบอัดข้อมูล, การเข้ารหัสข้อมูล และไม่มี Feature ในเรื่องของการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลด้วยการกำหนดค่า Permission

- ถ้า Shutdown แบบไม่ถูกต้องตามวิธี(FAT32) จะต้องมา Check disk กันทุกครั้ง แต่ถ้าเป็น NTFS จะไม่ค่อย Check disk ยกเว้นกรณีที่ Map และ Index ของ NTFS เกิดเสียหายถึงจะ Check disk


วิธีติดตั้ง และ Run Windows จากอุปกรณ์ USB (ตัวอย่างการสร้าง WIn 10 ฉบับพกพา)
Free Download Virtual Machine Software and How to used VMware Player, Oracle VM VirtualBox, Microsoft Virtual PC2007, Citrix XenServer, Linux Live USB Creator, etc.





1 ความคิดเห็น :

Nice กล่าวว่า...


Flash drive NTFS แล้วเข้า drive ไม่ได้เป็นเพราะไรคับ