วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Domain,Domain name



 

URL This Page: http://booiii.blogspot.com/2015/11/domaindomain-name.html

โดเมน, โดเมนเนม, ดอทต่อท้ายเว็บต่างๆ หมายถึงอะไร มีกี่ประเภท


 
What is Domain, Domain Name?
โดเมน, โดเมนเนม (Domain name) คือ ชื่อ, ที่อยู่, เส้นทางอ้างอิงที่ ใช้เรียก หรือ เปิดชมเว็บไซต์
หรือถ้าจะให้อธิบายให้ลึกกว่านั้น โดเมนเนม ก็คือชื่อที่ใช้เรียกแทน IP Address ของเว็บนั้นๆ เช่น www.google.com มี IP Address เป็น 216.58.216.206 แต่เนื่องจาก IP Address เป็นชุดตัวเลขที่จำได้ยาก จึงได้มีการใช้โดเมนเนม หรือ อินเตอร์เน็ทแอ็ดเดรส (Internet Address) ที่เป็นตัวอักษรที่จำได้ง่ายกว่ามาใช้แทน แต่ทั้งนี้ก็มีเงื่อนไขอยู่ว่าต้องเป็นชื่อที่ไม่ซ้ำกับของคนอื่นที่มีอยู่ก่อนแล้ว
- โดเมนเนมยังเป็นตัวที่บอกด้วยว่า เว็บนั้นๆเป็นเว็บที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร
- บางโดเมนเนมจะเป็นตัวระบุว่าเว็บนั้นอยู่ในประเทศอะไร
- ตัวที่จะบอกให้เรารู้ว่าเว็บนั้นๆเกี่ยวข้อง, มีเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร และอยู่ในประเทศไหน ก็ให้ดูที่นามสกุลของโดเมนครับ
ลักษณะของโดเมมจะเป็นดังนี้ http://www.ชื่อโดเมน.นามสกุล เช่น http://www.abc.com


วิธีการเรียกใช้ หรือเปิดโดเมน

- คุณจะพิมพ์ หรือไม่พิมพ์ http://www ก็ได้ เพราะถือเป็นชื่อเดียวกัน เช่น http://www.google.com/ = www.google.com และ = google.com
- คุณจะใช้อักษรพิมพ์เล็กหรือพิมพ์ใหญ่ก็ถือเป็นชื่อเดียวกัน เช่น ABC.COM = abc.com

ประเภทของโดเมน1. โดเมนขั้นสูงสุด Top Level Domain แบ่งออกเป็น 2 แบบย่อย คือ

1.1 General Internet DNS Top Level Domains (gTLDs) โดเมนขั้นสูงสุดแบบสากล เป็นรูปแบบมาตรฐานที่ใช้กัน เฉพาะในประเทศอเมริกา นามสกุลของโดเมนในลักษณะนี้จะเป็นบอกให้เรารู้ว่าเว็บนั้นๆเป็นเว็บเกี่ยวกับอะไรเช่น .com= เว็บเกี่ยวกับธุรกิจการค้า, .org= เว็บองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร เป็นต้น
1.2 Country Code Top Level Domains (ccTLDs) โดเมนขั้นสูงสุดแต่ละประเทศ เป็นรูปแบบที่ใช้บอกถึงประเทศ หรือที่ตั้งของโดเมน, นามสกุลของโดเมนในลักษณะนี้จะเป็นบอกให้เรารู้ว่าเว็บนั้นๆเป็นเว็บที่อยู่ในประเทศอะไร เช่น .th= ที่ดูแลโดยประเทศไทย, .uk= โดเมนของประเทศอังกฤษ, .au โดเมนของประเทศออสเตเลีย
    2. โดเมนขั้นที่สอง (Second Level Domain)
      2.1 โดเมนที่มีนามสกุลผสมกันระหว่าง gTLDs และ ccTLDs เช่น www.abc.edu.th ก็หมายถึง เว็บชื่อ abc เป็นเว็บเกี่ยวกับการศึกษา (.edu) อยู่ในประเทศไทย (.th) เป็นต้น
2.2 โดเมนที่มีนามสกุลดอท (.) เป็นเว็บ/บล็อกลูก ของเว็บใหญ่อีกชั้นหนึ่ง เช่น https://plus.google.com/ (Social network Google+ นั่นเอง)
3. โดเมนขั้นที่ 3 (Third Level Domain) อธิบายง่ายๆก็คือโดเมนที่มีนามสกุลดอท (.) ตามหลังอยู่สามตัวนั่นแหละครับส่วนใหญ่ก็จะเป็นเว็บ,บล็อกลูกของเว็บใหญ่ ทั้งนี้ก็อาจจะมีเหตุผลเพื่อต้องการแยกแผนก หรือแยกเจ้าของผู้รับผิดชอบก็ได้ ตัวอย่างเช่น synergy.as.cmu.eduละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้ที่ Third-level Domain Names






* IDN (Internationalized Domain Name) หมายถึง โดเมนที่มีชื่อเป็นภาษาท้องถิ่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ เช่น http://กขคงจ.com หรือ http://www.กขคง.co.th เป็นต้น ซึ่งคุณสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก ลิงค์นี้
** Domain ในความหมายทั่วไปหมายถึง ที่ดิน, ขอบเขตปกครอง, วง, สิทธิครอบครอง


General Internet DNS Top Level Domains (gTLDs)
.biz
IDN.biz
เว็บองค์กรที่เกี่ยวกับธุรกิจการค้า
.com
IDN.com
เว็บเกี่ยวกับธุรกิจการค้า
.info เว็บที่นำเสนอข้อมูลเป็นหลัก
.mobi เว็บโทรศัพท์มือถือ
.name

เว็บครอบครัว บุคคล
.net

IDN.net
เว็บขององค์กร, บริษัทที่เกี่ยวกับ Network
.org

IDN.org
เว็บองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร เช่น สมาคม หรือมูลนิธิ
.tel เว็บ์การสื่อสาร
.travel เว็บการท่องเที่ยว โรงแรม ทัวร์










Country Code Top Level Domains (ccTLDs)


Africa ccTLDs
.so เว็บไซต์ประเทศ Somalia




Asian ccTLDs
.asia เว็บไซต์อาเซียน .KR.CO.KR เว็บไซต์ประเทศเกาหลีใต้
.cn เว็บไซต์ประเทศจีน .ph เว็บไซต์ประเทศฟิลิปปินส์
.tw เว็บไซต์ประเทศไต้หวัน .jp เว็บไซต์ประเทศญี่ปุ่น
.hk เว็บไซต์ประเทศฮ่องกง .my เว็บไซต์ประเทศมาเลย์เซีย
.vn เว็บไซต์ประเทศเวียดนาม .in เว็บไซต์ประเทศอินเดีย
.sg เว็บไซต์ประเทศสิงคโปร์ .pk เว็บไซต์ประเทศปากีสถาน
.co.th เว็บไซต์ประเทศไทย




Australasia ccTLDs
.au เว็บไซต์ประเทศออสเตรเลีย
.nz เว็บไซต์ประเทศนิวซีแลนด์
.cx เว็บไซต์ Christmas Island




Commercially Used Country Code Domain Names


.cc

idn.cc
เว็บไซต์เกาะโคโค่
.tv เว็บไซต์ประเทศตูวาลู/โทรทัศน์
.me เว็บไซต์ประเทศมอนเตเนโก
.cm เว็บไซต์ประเทศแคเมอรูน
.cd เว็บไซต์ประเทศคองโก/ซีดี



Europe & America ccTLDs#0D1E0D
.eu เว็บไซต์ประเทศในกลุ่มยูโร/ยุโรป
.de เว็บไซต์ประเทศเยอรมัน
.uk เว็บไซต์ประเทศสหราชอาณาจักร/อังกฤษ
.it เว็บไซต์ประเทศอิตาลี
.li เว็บไซต์ประเทศลิกเตนสไตน์์
.us เว็บไซต์ประเทศสหรัฐอเมริกา
.la เว็บไซต์ประเทศลาว
.mx เว็บไซต์ประเทศแม็กซิโก
.sc/.com.sc/.net.sc/.org.sc for Seychelles
.vc/.com.vc/.net.vc/.org.vc for St. Vincent and the Grenadines.



ศัพท์พื้นฐานอินเตอร์เน็ท

- URL (Uniform Resource Locator) คีอ?: ระหัสการเข้าถึงข้อมูล หรือชุดอักษร, ตัวเลข ที่ใช้เปิดไปยังที่อยู่ของข้อมูลรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ข้อมูลในที่นี้อาจจะเป็น เว็บเพจทั่วไป, ไฟล์เอกสาร, ไฟล์ดาวน์โหลด, รูปภาพ หรือ VDO ก็ได้

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ Domain Name


- โดเมนเนมแรก คือ symbolics.com ซึ่งจดทะเบียนเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 1985 (พ.ศ. 2528) ถ้าเปรียบเทียบให้มองเห็นภาพสังคมไทย ก็เป็นยุคที่ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายก เริ่มเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่กลางปี 1987 (พ.ศ. 2530) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ทำการเชื่อมโยง เพื่อส่งอิเล็กทรอนิกส์เมลกับประเทศออสเตรเลีย ซึ่งทำให้มีระบบอิเล็กทรอนิกส์เมลเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรก ต่อมาในวันที่ ๒๗ กรกฎาคม 1992 (พ.ศ. 2535 ยุค อานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกสมัย2 หลังรัฐประหารพฤษภาทมิฬ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เช่าสายวงจรเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรก
 - Park คือ การจองโดเมนเนมโดยที่ยังไม่นำไปใช้งาน

Beautiful world- Cybersquatter คือ ผู้ที่ต้องการเก็งกำไรจากการขายโดเมนเนมให้กับผู้อื่น

- เราสามารถดูสถิติการจดโดเมนเนมทั่วโลก ได้จาก http://www.domainstats.com/

- ICANN http://www.icann.org เป็นองค์กรอิสระซึ่งประกอบด้วยนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ และนักธุรกิจที่มีชื่อเสียง ที่ทำหน้าที่บริหารระบบโดเมนเนม, จัดสรรหมายเลขไอพี, บริหารระบบอุปกรณ์บริการด้านทะเบียนและสืบค้นโดเมน และกำหนดมาตรฐานทางเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับโปรโตคอลสื่อสาร โดยไม่หวังผลกำไร

- ในอดีตชื่อโดเมน ยาวไม่เกิน 22 ตัวอักษร และได้เปลี่ยนเป็น 63 ตัวอักษร ตั้งแต่ปลายปี 1999 โดยเฉลี่ยไม่เกิน 11 ตัวอักษร

- ในการขอจดชื่อโดเมนเนม จะเป็นสิทธิ์แบบเช่าชื่อ ซึ่งมีอายุ 2 ปี และต้องต่ออายุใหม่ (ข้อมูลนี้จาก www.nectec.or.th)

แหล่งค้นคว้าข้อมูล:
- http://www.ireallyhost.com - www.nectec.or.th
- www.cmu.edu - en.wikipedia.org/wiki/Domain_name
- en.wikipedia.org/wiki/Subdomain - https://th.wikipedia.org/wiki/นายกรัฐมนตรีไทย





The Ultimate Guide to Choosing and Buying a Domain Name in 2020 (คู่มือขั้นสูงสุดในการเลือกและซื้อชื่อโดเมน)

วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Statistics Eroding Privacy Freedom on the Net 2015




 

สถิติการริบรอนเสรีภาพในอินเตอร์เน็ท ปี 2015



A. เรื่องควรรู้ก่อนอ่าน สถิติเสรีภาพทางด้านอินเตอร์เน็ท

ปัจจุบันทั่วโลกมีรัฐเอกราชซึ่งเป็นที่ยอมรับจากนานาชาติส่วนใหญ่ 196 รัฐ (ประเทศ) ทั้งหมดเป็นรัฐสมาชิกสหประชาชาติ ยกเว้นนครรัฐวาติกัน ปาเลสไตน์ และคอซอวอ และมีรัฐอีก 8 แห่งที่ยังไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติส่วนใหญ่ ซึ่งถ้าแยกออกเป็นทวีปก็จะมีจำนวนประเทศตามนี้
- เอเชีย 48 ประเทศ
- โอเชียเนีย (ทวีปออสเตรเลีย และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก) 14 ประเทศ
- ยุโรป 45 ประเทศ
- แอฟริกา 54 ประเทศ
- อเมริกาเหนือ 22 ประเทศ 
- อเมริกาใต้ 13 ประเทศ
- รัฐที่ไม่ได้รับการรับรองจากนานาชาติส่วนใหญ่ รัฐที่ไม่ได้รับการรับรองจากนานาชาติส่วนใหญ่ 8 รัฐ, และมีดินแดนที่ อยู่ภายใต้การปกครองของประเทศต่างๆอีก 79 ดินแดน (ส่วนใหญ่จะเป็นเกาะ รองลงมาก็เป็นพวกเขตปกครองตัวเอง เช่น เกาะไต้หวันเป็นต้น) ซึ่งคุณสามารถอ่านรายละเอียดได้จาก th.wikipedia 
รายชื่อประเทศ ดินแดน และเมืองหลวง

สถิติรวมไปถึงผลสำรวจในเพจนี้นำบางส่วนมาจาก freedom house.orgถ้าคุณต้องการดูรายละเอียดในทุกๆด้าน แนะนำว่าให้คุณ Download PDF file จากลิงค์ข้างล่างนี้ไปอ่านจะครอบคลุมกว่า (ภาษาอังกฤษ)
DOWNLOAD Freedom on the net 2015.pdf  ENG Language, 40 Page, 4.52 MB.


 


B. ภาพรวมของเสรีภาพการใช้อินเตอร์เน็ททั่วโลก

freedomhouse (องค์กรพัฒนาเอกชน สำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงวอชิงตัน USA) ได้ทำการสำรวจ เรื่องเสรีภาพทางด้านการแสดงออกในเรื่องต่างๆ ที่มีการเผยแพร่ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ท 65 ประเทศ จากทั้งหมด 196 ประเทศ,
และข้างล่างนี้ ก็เป็นภาพรวมของการสำรวจเสรีภาพการใช้อินเตอร์เน็ททั่วโลก ซึ่งถ้าดูจากภาพประกอบข้างล่างนี้ หรือใน PDF File (ถ้าคุณดาวน์โหลด) สีต่างๆจะมีความหมายดังนี้
.... มีเสรีภาพ .... มีเสรีภาพบางส่วน .... ไม่มีเสรีภาพ ... ไม่มีการประเมินผล, ไม่ได้สำรวจ
ภาพนี้อยู่ในหน้า 20 - 21 ของ PDF File
Freedom on  the Net 2015 Map


ถ้าดูจากจำนวนประเทศที่มีการสำรวจผู้อ่านบางท่านอาจจะมองว่าไม่มาก แต่ถ้าดูกันที่จำนวนประชากรที่สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ททั่วโลก freedomhouse ระบุว่าทั้งหมดที่ได้สำรวจนับเป็น 85% ของจำนวนประชากรทั่วโลกที่สามารถเข้าถึงการใช้งานอินเตอร์เน็ท (ดูรายละเอียดใน PDF File หน้า 14)
GLOBAL INTERNET POPULATION BY 2015 FOTN STATUS- รายงานของ Freedom House ระบุว่าภาพรวมเสรีภาพในการใช้อินเตอร์เน็ตทั้งหมดลดลงติดต่อกันเป็นปีที่ 5
- ผลการศึกษาพบว่ามากกว่า 61% ของผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต อาศัยอยู่ในประเทศที่ห้ามวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล หรือฝ่ายปกครองที่มาจากทหาร และครอบครัวผู้เป็นใหญ่
- และมากกว่า 58% อาศัยอยู่ในประเทศที่บล็อกเกอร์และผู้ใช้งานไอซีที ถูกจองจำด้วยข้อหาแชร์ข้อมูลเนื้อหาที่เกี่ยวกับการเมือง สังคมและศาสนา
- หัวข้อที่มักถูกเซ็นเซอร์จากรัฐบาลทั่วโลกก็คือ การวิพากษ์วิจารณ์ผู้ปกครองประเทศ การเสนอข่าวความขัดแย้ง ข่าวคอร์รัปชันของรัฐบาล องค์กรเอกชน รวมทั้งการแสดงความคิดในทางส่อเสียดกลุ่มคนเหล่านั้น
- นอกจากนั้น ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต รวมไปถึงเว็บไซต์ของเอกชนใน 42 ประเทศจาก 65 ประเทศ ยังถูกควบคุมอย่างเข้มงวดและอาจถูกตามลบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเมือง สังคมและศาสนา ซึ่งเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นจาก 37 ประเทศเมื่อปีก่อนหน้า

 

C. แผนภูมิ 10 เรื่องที่มีการเซ็นเซอร์
(เรื่องที่มีการปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นในอินเตอร์เน็ท)

วิธีดูแผนภูมิ: หัวข้อที่1จะอยู่ที่วงกลมด้านในสุด จากนั้นก็เรียงออกมา, วงกลมนอกสุดจะเป็นหัวข้อที่ 10

แผนภูมินี้อยู่ในหน้า 7 ของ PDF File
Freedom on the Net Report 2015

 

ประเทศไทย
จากแผนภูมิข้างบน พบว่ามีการเซ็นเซอร์ 7 ใน 10 เรื่องที่มีการสำรวจ ดังนี้

เซ็นเซอร์บ่อยครั้ง / เซ็นเซอร์นานๆครั้ง
...
เนื้อหา
ความถี่ของการเซ็นเซอร์
1.การวิพากวิจารณ์เจ้าหน้าที่ของรัฐ บ่อยครั้ง
2. ความขัดแย้ง นานๆครั้ง
3. คอรัปชั่น นานๆครั้ง
4. ความเห็นต่างทางการเมือง นานๆครั้ง
5. การเสียดสี, เรื่องเย้อหยัน ข้อความล้อเลียน นานๆครั้ง
6. ความคิดเห็นของสังคม บ่อยครั้ง
7. เนื้อหาหมิ่นศาสนา, คำหยาบคาย ไม่เซ็นเซอร์
8. สาเหตุการชุมนุมในที่สาธารณะ บ่อยครั้ง
9. ชาติพันธุ์, ศาสนา ชน, กลุ่มน้อย ไม่เซ็นเซอร์
10. การโต้เถียงเกี่ยวกับกลุ่มคน
ที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTI)
ไม่เซ็นเซอร์

* LGBT (หรือ GLBT) คือ"กลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ", เป็นอักษรตัวแรกของคำว่า lesbian (เลสเบี้ยน) , gay (เกย์) , bisexual (ไบเซ็กชวล) , และ transgender/transsexual (คนข้ามเพศ) มีการใช้คำว่า LGBT มาตั้งแต่ยุค 90 ซึ่งดัดแปลงมาจาก “LGB” ที่ใช้ในการแทนวลี "สังคมเกย์" (Gay community)...อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่th.wikipedia

 

D. Overview of Score Changes

A Freedom on the Net score increase represents a negative trajectory (t) for internet freedom, while a score decrease represents a positive trajectory (▲) for internet freedom. ... = Decline, ▲ = Improvement, Blank = No Change
a numerical score (FONT 2015 column) from 0 (the most free) to 100 (the least free), which serves as the basis for an internet freedom status designation of FREE (0-30 points), PARTLY FREE (31-60 points), or NOT FREE (61-100 points)
Category Trajectories (อ่านข้อมูลเพิ่มเติมใน PDF file หน้า 32 - 34)
A. Obstacles to Access: the most free= 0, the least free= 25
B. Limits on Content the most free= 0, the least free= 35
C. Vio lations of User Rights the most free= 0, the least free= 40

ตารางสถิติต่อไปนี้อยู่ในหน้า 28, 29 ของ PDF File
Asia
Overall Category Trajectories
Country FOTN
2014
FOTN
2015
Overall
Trajectory
FOTN 2015
Status
A.
Obstacles
to Access
B.
Limits on
Content
C.
Vio lations of
User Rights
Bangladesh
49
51
Partly Free
12
12
27
Cambodia
47
48
Partly Free
14
15
19
China
87
88
Not Free
18
30
40
India
42
40
Partly Free
12
10
18
Indonesia
42
42
Partly Free
11
12
19
Japan
22
22
Free
4
7
11
Malaysia
42
43
Partly Free
8
14
21
Myanmar
60
63
Not Free
18
17
28
Pakistan
69
69
Not Free
20
20
29
Philippines
27
27
Free
10
5
12
Singapore
40
41
Partly Free
6
14
21
South Korea
33
34
Partly Free
3
14
17
Sri Lanka
58
47
Partly Free
14
13
20
Thailand
62
63
Not Free
9
22
32
Vietnam
76
76
Not Free
13
29
34
วิธีดูตารางสถิติ และการเปลี่ยนเปลง
- ตัวเลขที่ช่อง FONT 2015: (0=มีเสรีภาพมากที่สุด 100=ไม่มีเสรีภาพ) 0 -30 = มีเสรีภาพ, 31 - 60 = มีเสรีภาพบางส่วน, 61 - 100 = ไม่มีเสรีภาพ
- สัญลักษณ์สามเหลี่ยม ▼ = แย่ลง, ▲ = ดีขึ้น, ว่างเปล่า = ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

Category Trajectories (อ่านข้อมูลเพิ่มเติมใน PDF file หน้า 32 - 34)
A. Obstacles to Access (อุปสรรคในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต) เสรีภาพมากที่สุด = 0, เสรีภาพน้อยที่สุด = 25
B. Limits on Content (ข้อจำกัดด้านข้อมูล) เสรีภาพมากที่สุด = 0, เสรีภาพน้อยที่สุด = 35
C. Vio lations of User Rights (การละเมิดสิทธิของผู้ใช้) เสรีภาพมากที่สุด= 0, เสรีภาพน้อยที่สุด = 40
Eurasia
Overall
Category Trajectories
Country FOTN
2014
FOTN
2015
Overall
Trajectory
FOTN 2015
Status
A.
Obstacles
to Access
B.
Limits on
Content
C.Vio lations
of User
Rights
Armenia
28
28
Free
6
10
12
Azerbaijan
55
56
Partly Free
13
19
24
Belarus
62
64
Not Free
15
21
28
Georgia
26
24
Free
7
6
11
Kazakhstan
60
61
Not Free
14
23
24
Kyrgyzstan
34
35
Partly Free
11
8
16
Russia
60
62
Not Free
10
23
29
Turkey
55
58
Partly Free
13
20
25
Ukraine
33
37
Partly Free
8
10
19
Uzbekistan
79
78
Not Free
19
28
31


Latin America
Overall Category Trajectories
Country FOTN
2014
FOTN
2015
Overall
Trajectory
FOTN 2015
Status
A.
Obstacles
to Access
B.
Limits on
Content
C.Vio lations
of User
Rights
Argentina
27
27
Free
7
8
12
Brazil
30
29
Free
7
6
16
Colombia
30
32
Partly Free
8
8
16
Cuba
84
81
Not Free
22
27
32
Ecuador
37
37
Partly Free
8
11
18
Mexico
39
39
Partly Free
9
10
20
Venezuela
56
57
Partly Free
17
18
22


Middle East & North Africa
Overall Category Trajectories
Country FOTN
2014
FOTN
2015
Overall
Trajectory
FOTN 2015
Status
A.
Obstacles
to Access
B.
Limits on
Content
C.Vio lations
of User
Rights
Bahrain
74
72
Not Free
11
27
34
Egypt
60
61
Not Free
14
13
34
Iran
89
87
Not Free
20
31
36
Jordan
48
50
Partly Free
12
16
22
Lebanon
47
45
Partly Free
13
12
20
Libya
48
54
Partly Free
20
12
22
Morocco
44
43
Partly Free
11
9
23
Saudi Arabia
73
73
Not Free
15
24
34
Syria
88
87
Not Free
24
26
37
Tunisia
39
38
Partly Free
10
8
20
United Arab Emirates
67
68
Not Free
14
22
32


Sub-Saharan Africa
Overall Category Trajectories
Country FOTN
2014
FOTN
2015
Overall
Trajectory
FOTN 2015
Status
A.
Obstacles
to Access
B.
Limits on
Content
C.Vio lations
of User
Rights
Angola
38
39
Partly Free 
14 8 17
Ethiopia 80 82 Not Free 23
28
31
Kenya 28 29 Free 9
7
13
Malawi 42 40 Partly Free 15 12 13
Nigeria 33 33
Partly Free 10
8
15
Rwanda 50 50
Partly Free 11 20 19
South Africa 26 27 Free 8 8
11
Sudan 65 65
Not Free 18
19
28
The Gambia 65 65
Not Free 18 21
26
Uganda 34 36 Partly Free 11
7
18
Zambia 43 40 Partly Free 11 12 17
Zimbabwe 55 56 Partly Free 15
16 25



Australia, Canada, European Union, Iceland & United States
Overall Category Trajectories
Country FOTN

2014
FOTN

2015
Overall

Trajectory
FOTN 2015
Status
A.
Obstacles
to Access
B.
Limits on
Content
C.Vio lations
of User
Rights
Australia 17 19 Free 2
5
12
Canada 15 16 Free 3
4 9
Estonia 8 7 Free 1
3
3
France 20 24 Free 3
6 15
Germany 17 18 Free 4
5 9
Hungary 24 24
Free 4 9 11
Iceland 6 6
Free 1
1
4
Italy 22 23 Free 4
6
13
United Kingdom 24 24
Free 2
6
16
United States 19 19
Free 3 2
14


จากข้อมูลของฟรีดอมเฮ้าส์ ไทยมีประชากร 66.4 ล้านคน มีอัตราการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต 35% ของประชากรทั้งหมด ไม่มีการบล็อกการเข้าถึงโซเชียลมีเดียและไอซีทีแอพพลิเคชั่น แต่มีการบล็อกข้อมูลที่เกี่ยวกับการเมือง สังคม รวมทั้งมีการจับกุมบล็อกเกอร์ และมือโพสต์ที่ละเมิด สื่อมวลชนไม่มีเสรีภาพ...ย่อหน้านี้ผมคัดลอกมาจาก thairath.co.th ความจริงมีเนื้อหาที่น่าสนใจอยู่หลายประเด็น คุณสามรถเข้าไปอ่านได้จาก Link นี้ครับเสรีภาพอินเตอร์เน็ตลดลงทั่วโลก